เมนู

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [1. ปฐมปัณณาสก์] 2. นาถกรณวรรค 8. ทุติยนาถสูตร
ความเจริญอย่างเดียวในกุศลธรรมทั้งหลาย ไม่มีความเสื่อมเลย นี้ก็เป็น
นาถกรณธรรม
2. เป็นพหูสูต ฯลฯ แทงตลอดดีด้วยทิฏฐิ ภิกษุทั้งหลายผู้เป็นเถระก็ดี ผู้
เป็นมัชฌิมะก็ดี ผู้เป็นนวกะก็ดี ย่อมสำคัญภิกษุนั้นว่าเป็นผู้ควรว่ากล่าว
สั่งสอนได้ว่า ‘ภิกษุนี้เป็นพหูสูต ทรงสุตะ สั่งสมสุตะ เป็นผู้ได้ฟังมากซึ่ง
ธรรมทั้งหลายที่มีความงามในเบื้องต้น มีความงามในท่ามกลาง มีความ
งามในที่สุด ประกาศพรหมจรรย์พร้อมทั้งอรรถและพยัญชนะ บริสุทธิ์
บริบูรณ์ครบถ้วน ทรงจำไว้ได้ คล่องปาก ขึ้นใจ แทงตลอดดีด้วยทิฏฐิ
หนอ’ ภิกษุนั้นผู้อันภิกษุผู้เป็นเถระ ผู้เป็นมัชฌิมะ ผู้เป็นนวกะอนุเคราะห์
แล้ว พึงหวังได้แต่ความเจริญอย่างเดียวในกุศลธรรมทั้งหลาย ไม่มีความ
เสื่อมเลย นี้ก็เป็นนาถกรณธรรม
3. เป็นผู้มีมิตรดี มีสหายดี มีเพื่อนดี ภิกษุทั้งหลายผู้เป็นเถระก็ดี ผู้เป็น
มัชฌิมะก็ดี ผู้เป็นนวกะก็ดี ย่อมสำคัญภิกษุนั้นว่าเป็นผู้ควรว่ากล่าวสั่ง
สอนได้ว่า ‘ภิกษุนี้เป็นผู้มีมิตรดี มีสหายดี มีเพื่อนดีหนอ’ ภิกษุนั้นผู้อัน
ภิกษุผู้เป็นเถระ ผู้เป็นมัชฌิมะ ผู้เป็นนวกะอนุเคราะห์แล้ว พึงหวังได้แต่
ความเจริญอย่างเดียวในกุศลธรรมทั้งหลาย ไม่มีความเสื่อมเลย นี้ก็เป็น
นาถกรณธรรม
4. เป็นผู้ว่าง่าย ประกอบด้วยธรรมเป็นเครื่องทำให้เป็นผู้ว่าง่าย อดทน
รับฟังคำพร่ำสอนโดยเคารพ ภิกษุทั้งหลายผู้เป็นเถระก็ดี ผู้เป็นมัชฌิมะ
ก็ดี ผู้เป็นนวกะก็ดี ย่อมสำคัญภิกษุนั้นว่าเป็นผู้ควรว่ากล่าวสั่งสอนได้ว่า
‘ภิกษุนี้เป็นผู้ว่าง่าย ประกอบด้วยธรรมเป็นเครื่องทำให้เป็นผู้ว่าง่าย
อดทน รับฟังคำพร่ำสอนโดยเคารพหนอ’ ภิกษุนั้นผู้อันภิกษุผู้เป็น
เถระ ผู้เป็นมัชฌิมะ ผู้เป็นนวกะอนุเคราะห์แล้ว พึงหวังได้แต่ความเจริญ
อย่างเดียวในกุศลธรรมทั้งหลาย ไม่มีความเสื่อมเลย นี้ก็เป็นนาถ-
กรณธรรม

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 24 หน้า :35 }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [1. ปฐมปัณณาสก์] 2. นาถกรณวรรค 8. ทุติยนาถสูตร
5. เป็นผู้ขยัน ไม่เกียจคร้านในการงานที่จะต้องช่วยกันทำทั้งงานสูงและ
งานต่ำ1ของเพื่อนพรหมจารีทั้งหลาย ประกอบด้วยปัญญาเป็นเครื่อง
พิจารณาอันเป็นอุบายในการงานที่จะต้องช่วยกันทำนั้น สามารถทำได้
สามารถจัดได้ ภิกษุทั้งหลายผู้เป็นเถระก็ดี ผู้เป็นมัชฌิมะก็ดี ผู้เป็น
นวกะก็ดี ย่อมสำคัญภิกษุนั้นว่าเป็นผู้ควรว่ากล่าวสั่งสอนได้ว่า ‘ภิกษุนี้
เป็นผู้ขยัน ไม่เกียจคร้านในการงานที่จะต้องช่วยกันทำทั้งงานสูงและงาน
ต่ำของเพื่อนพรหมจารีทั้งหลาย ประกอบด้วยปัญญาเป็นเครื่องพิจารณา
อันเป็นอุบายในการงานที่จะต้องช่วยกันทำนั้น สามารถทำได้ สามารถ
จัดได้หนอ’ ภิกษุนั้นผู้อันภิกษุผู้เป็นเถระ ผู้เป็นมัชฌิมะ ผู้เป็นนวกะ
อนุเคราะห์แล้ว พึงหวังได้แต่ความเจริญอย่างเดียวในกุศลธรรมทั้งหลาย
ไม่มีความเสื่อมเลย นี้ก็เป็นนาถกรณธรรม
6. เป็นผู้ใคร่ธรรม เป็นผู้ฟังและผู้แสดงธรรมอันเป็นที่พอใจ มีปราโมทย์
อย่างยิ่งในอภิธรรม ในอภิวินัย ภิกษุทั้งหลายผู้เป็นเถระก็ดี ผู้เป็น
มัชฌิมะก็ดี ผู้เป็นนวกะก็ดีย่อมสำคัญภิกษุนั้นว่าเป็นผู้ควรว่ากล่าว
สั่งสอนได้ว่า ‘ภิกษุนี้เป็นผู้ใคร่ธรรม เป็นผู้ฟังและผู้แสดงธรรมอันเป็น
ที่พอใจ มีปราโมทย์อย่างยิ่งในอภิธรรม ในอภิวินัยหนอ’ ภิกษุนั้นผู้อัน
ภิกษุผู้เป็นเถระ ผู้เป็นมัชฌิมะ ผู้เป็นนวกะอนุเคราะห์แล้ว พึงหวังได้แต่
ความเจริญอย่างเดียวในกุศลธรรมทั้งหลาย ไม่มีความเสื่อมเลย นี้ก็เป็น
นาถกรณธรรม
7. เป็นผู้ปรารภความเพียรเพื่อละอกุศลธรรม เพื่อให้กุศลธรรมเกิด มี
ความเข้มแข็ง มีความบากบั่นมั่นคง ไม่ทอดธุระในกุศลธรรมทั้งหลายอยู่
ภิกษุทั้งหลายผู้เป็นเถระก็ดี ผู้เป็นมัชฌิมะก็ดี ผู้เป็นนวกะก็ดี ย่อม

เชิงอรรถ :
1 ดูเชิงอรรถที่ 5 ข้อ 17 (ปฐมนาถสูตร) หน้า 32 ในเล่มนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 24 หน้า :36 }